เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกสิกขาบทที่ทรงอุเทศแล้ว ตาม
ลำดับบทอย่างนั้นแล้ว บัดนี้ จึงทรงตั้งมาติกา โดยนัยเป็นต้นว่า ภุมฺมฏฺฐํ
ถลฏฺฐํ
แล้วตรัสวิภังค์แห่งบทภาชนีย์นั้น โดยนัยมีคำว่า ภุมฺมฏฺฐํ นาม
ภณฺฑํ ภูมิยํ นิกฺขิตฺตํ โหติ
เป็นต้น เพื่อแสดงภัณฑะที่จะพึงถือเอา
ซึ่งพระองค์ทรงแสดงการถือเอา โดยสังเขป ด้วยหกบทมีบทว่า อาทิเยยฺย
เป็นต้นแล้ว ทรงแสดงโดยสังเขปเหมือนกันว่า บาทหนึ่ง ก็ดี ควรแก่บาท
หนึ่ง ก็ดี เกินกว่าบาทหนึ่ง ก็ดี โดยพิสดาร โดยอาการที่ภัณฑะนั้นตั้งอยู่
ในที่ใด ๆ จึงถึงความถือเอาได้ เพื่อปิดโอกาสแห่งเลศของปาปภิกษุทั้งหลาย
ในอนาคต. วินิจฉัยกถา พร้อมด้วยวรรณนาบทที่ไม่ตื้น ในคำว่า นิกฺขิตฺตํ
เป็นต้นนั้น พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า นิกฺขิตฺตํ ได้แก่ ที่ฝังเก็บไว้ในแผ่นดิน.
บทว่า ปฏิจฺฉนฺนํ ได้แก่ ที่เขาปกปิดไว้ ด้วยวัตถุมีดินและอิฐ
เป็นต้น.
ข้อว่า ภุมฺมฏฺฐํ ภณฺฑํ ฯปฯ คจฺฉติ วา อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส
มีความว่า ภิกษุใดรู้ด้วยอุบายบางอย่างนั่นเทียว ซึ่งภัณฑะนั้นที่ชื่อว่าตั้งอยู่
ในแผ่นดิน เพราะเป็นของที่เขาฝัง หรือปกปิดตั้งไว้อย่างนั้น เป็นผู้มีไถยจิตว่า
เราจักลัก แล้วลุกขึ้นไปในราตรีภาค. ภิกษุนั้น แม้ไปไม่ถึงที่แห่งภัณฑะ
ย่อมต้องทุกกฏ เพราะกายวิการ และวจีวิการทั้งปวง.

[

อรรถาธิบายอาบัติที่เป็นบุพประโยคแห่งปาราชิก

]
ถามว่า ต้องอย่างไร ?
แก้ว่า ต้องอย่างนี้ คือ :- จริงอยู่ ภิกษุนั้นเมื่อลุกขึ้น เพื่อต้องการ
จะลักทรัพย์นั้น ให้อวัยวะน้อยใหญ่ใด ๆ เคลื่อนไหว ย่อมต้องทุกกฏใน